มาตรฐาน IP สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า

มาตรฐาน IP สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า

 

มาตรฐาน IP ย่อมาจาก International Protection Standard อ้างอิงตามมาตรฐาน IEC 60529 (หรือบางครั้งถูกเรียกว่า Ingress Protection Rating) ซึ่งเรามักจะได้ยินกันในชื่อของ IP Standard หรือ IP Code  คือมาตรฐานที่บอกถึงระดับความสามานรถในการป้องฝุ่นและน้ำของอุปกรณ์ทางกล (Mechanical casings) และอุปกรณ์ไฟฟ้า (Electrical enclosures) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย IEC (International Electrotechnical Commission) เทียบเท่ากับมาตรฐานยุโรป EN 60529

 

IP Standard หรือ IP Code จะถูกแสดงโดยตัวเลข 2 หลักคือ โดยหลักแรกจะหมายถึงระดับการป้องกันของแข็ง (Solid protection) หรือการสัมผัสโดยบังเอิญ ซึ่งจะมีระดับตั้งแต่ 0-6 ส่วนหลักที่สองจะหมายถึงระดับการป้องกันของเหลว (Liquid protection) ซึ่งจะมีระดับตั้งแต่ 0-9 ซึ่งความหมายของรหัส IP ตัวอื่นๆจะถูกเขียนไว้ในรายละเอียดด้านล่าง

 

ความหมายของตัวเลขหลักแรก (ระดับการป้องกันของแข็ง Solid protection) 

0 = ไม่มีการป้องกันใดๆ

1 = ป้องกันของแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 50 mm ขึ้นไป เช่น สามารถป้องกันการสัมผัสอุปกรณ์จากส่วนต่างๆ ของร่างกายได้

2 = ป้องกันของแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 12 mm ขึ้นไป เช่น สามารถป้องกันการสัมผัสตัวอุปกรณ์โดยไม่ตั้งใจจากนิ้วมือหรือเครื่องมืออื่นๆ ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน

3 = ป้องกันของแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 2.5 mm ขึ้นไป เช่น สามารถป้องกันการสัมผัสตัวอุปกรณ์โดยไม่ตั้งใจจากไขควงหรือเครื่องมืออื่นๆ ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน

4 = ป้องกันของแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 1 mm ขึ้นไป เช่น สามารถป้องกันการสัมผัสตัวอุปกรณ์โดยไม่ตั้งใจจากสายไฟ, เส้นลวด, ไขควงขนาดเล็ก, แมลงบางชนิด หรือ เครื่องมืออื่นๆ ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน

5 = ป้องกันฝุ่นได้ แต่อาจมีฝุ่นเล็กน้อยเล็ดลอดเข้าไป โดยฝุ่นที่เล็ดลอดเข้าไปนั้นต้องไม่มีผลใดๆ ต่อการทำงานของอุปกรณ์

6 = ป้องกันฝุ่นได้สมบูรณ์ โดยมาตรฐานนี้ถูกทดสอบบนพื้นที่ที่มีการไหลเวียนของอากาศและฝุ่นเป็นเวลา 8 ชั่วโมง

 

ความหมายของตัวเลขหลักที่สอง (Liquid protection)

0 = ไม่มีการป้องกันใดๆ

1 = ป้องกันหยดน้ำที่ตกกระทบใน แนวตั้ง กับตัวอุปกรณ์เท่านั้น (Testing method = ปล่อยหยดน้ำในแนวตั้งปริมาณเทียบเท่าสายฝนขนาด 1 mm/min เป็นเวลา 10 นาที)

2 = ป้องกันหยดน้ำที่ตกกระทบใน แนวเฉียง รอบตัวอุปกรณ์ได้ทำมุมสูงสุดไม่เกิน 15 องศาจากแนวตั้ง (Testing method = ปล่อยหยดน้ำในแนวเฉียงปริมาณเทียบเท่าสายฝนขนาด 3 mm/min เป็นเวลา 2.5 นาที/ด้าน รวมทั้งหมด 10 นาที โดยทดสอบครอบคลุม 4 ได้แก่ ด้านหน้า, ด้านหลัง, ด้านซ้าย และด้านขวาของตัวอุปกรณ์ โดยไม่รวมด้านบนและด้านล่าง)

3 = ป้องกันละอองน้ำที่ตกกระทบ ในแนวเฉียง รอบตัวอุปกรณ์ได้ทำมุมสูงสุดไม่เกิิน 60 องศาจากแนวตั้ง (Testing method = ใช้หัวฉีดสเปรย์ (Spray Nozzle) ฉีดไปที่อุปกรณ์โดยมีแผ่นป้องกันน้ำเพื่อให้เกิดละอองน้ำตามมุมทดสอบ ฉีดด้วยแรงดัน 50-150 kPa และอัตราการไหล 10 l/min เป็นเวลา 1 นาทีต่อพื้นที่อุปกรณ์ 1 m2 โดยใช้เวลาในการทดสอบทั้งหมดอย่างน้อย 5 นาที 

4 = ป้องกันละอองน้ำที่ตกกระทบตัวอุปกรณ์ได้จาก ทุกทิศทาง (Testing method = ใช้หัวฉีดสเปรย์ (Spray Nozzle) ฉีดรอบตัวอุปกรณ์ด้วยแรงดัน 50-150 kPa และอัตราการไหล 10 l/min เป็นเวลา 1 นาทีต่อพื้นที่อุปกรณ์ 1 m2 โดยใช้เวลาในการทดสอบทั้งหมดอย่างน้อย 5 นาที)

5 = ป้องกันน้ำจากการฉีดที่ตัวอุปกรณ์ได้จาก ทุกทิศทาง (Testing method = ใช้หัวฉีด (Nozzle) ขนาด 6.3 mm ฉีดรอบตัวอุปกรณ์ด้วยแรงดัน 30 kPa ที่ระยะห่าง 3 m และอัตราการไหล 12.5 l/min เป็นเวลา 1 นาทีต่อพื้นที่อุปกรณ์ 1 m2 โดยใช้เวลาในการทดสอบทั้งหมดอย่างน้อย 3 นาที)

6 = ป้องกันน้ำจากการฉีดแบบรุนแรงที่ตัวอุปกรณ์ได้จาก ทุกทิศทาง (Testing method = ใช้หัวฉีด (Nozzle) ขนาด 12.5 mm ฉีดรอบตัวอุปกรณ์ด้วยแรงดัน 100 kPa ที่ระยะห่าง 3 m และอัตราการไหล 100 l/min เป็นเวลา 1 นาทีต่อพื้นที่อุปกรณ์ 1 m2 โดยใช้เวลาในการทดสอบทั้งหมดอย่างน้อย 3 นาที)

7 = ป้องกันการแทรกซึมของน้ำจากการแช่ตัวอุปกรณ์ในน้ำได้ที่ ความลึกสูงสุด 1 m เป็นระยะเวลาสูงสุด 30 นาที (Testing method = อุปกรณ์ขนาดเล็กจะใช้แช่ตัวอุปกรณ์ลงในน้ำที่ความลึก 100 mm โดยวัดจากจุดต่ำสุดของตัวอุปกรณ์ถึงผิวน้ำ, กรณีเป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่จะแช่ตัวอุปกรณ์ลงในน้ำที่ความลึก 150 mm โดยวัดจากจุดสูงสุดของตัวอุปกรณ์ถึงผิวน้ำ เป็นระยะเวลา 30 นาที ทั้ง 2 กรณี)

8 = ป้องกันการแทรกซึมของน้ำจากการแช่ตัวอุปกรณ์ในน้ำได้ แบบถาวร (Testing method = เนื่องจากระยะความลึกในการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน การทดสอบของมาตรฐาน IP นี้จะขึ้นอยู่กับโรงงานผู้ผลิตโดยตรง)

 

ดังนั้นการเลือกอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำและฝุ่น (ของแข็ง) นั้น ผู้ออกแบบจำเป็นต้องคำนึงถึงคุณสมบัติการป้องเป็นสำคัญด้วย เช่น หากต้องการผลิตตู้สวิทช์บอร์ด หรือตู้คอนโทรลที่ผ่านมาตรฐาน IP54 ก็จำเป็นต้องเลือกกุญแจตู้คอนโทรลที่เป็นกุญแจกันน้ำกันฝุ่น และกุญแจต้องผ่านมาตรฐาน IP54 ด้วยเช่นเดียวกัน เช่น กุญแจตู้คอนโทรลกันน้ำ กุญแจตู้สแตนเลส เป็นต้น

 


  • ขาเครื่องจักร_ขาฉิ่งM16_M20_ขาปรับระดับเครื่องจักร.jpg
    การเลือกประเภทของขาปรับระดับขาเครื่องจักร จะดูจากอะไร? ปกติวิศวกรผู้ออกแบบการใช้งานขาเครื่องจักรนั้น จะมีประเด็นให้ต้องพิจารณาหลักๆ อยู่ 2 ข้อ ได้แก่ 1) การรับน้ำหนักของขาปรับระดั...

  • adjustable_feet-ขาฉิ่ง-ขาปรับระดับเครื่องจักร.jpg
    ขาปรับระดับ หรือขาฉิ่ง นิยมผลิตจากวัสดุประเภทใดบ้าง? ขาปรับระดับ หรือ ขาฉิ่งปรับระดับ หรือ ขาตั้งเครื่องจักรนั้น ประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลักๆ 3 ส่วน คือฐาน (Base), เกลียว (Thread ห...

  • UM_SPEC_ขาฉิ่ง_ขาตั้งเครื่องจักร_ขาฉิ่งสแตนลเส_ขาปรับระดับ_ขาฉิ่งเครื่องจักร_ขาฉิ่งปรับมุม_ขาฉิ่งเอียงได้_M12_M16_M20_14.jpg
    ทำไมขาปรับระดับสำหรับเครื่องจักรหนัก ควรต้องเป็นขาปรับแบบปรับมุมได้? โดยปกติแล้วเครื่องจักร หรืออุปกรณ์เช่นตู้ไฟ ตู้สวิทช์บอร์ดที่มีน้ำหนักมาก (ในกรณีอาจหมายถึงน้ำหนักตั้งแต่ 800 ...

  • หูล็อคปิ่นโต_ตัวล็อคปิ่นโต_ล็อคฝาตู้.jpg
    การเลือกใช้หูล็อคปิ่นโต หูล๊อคปิ่นโต หรือ หูปิ่นโต (Draw latch) นั้นเป็นอุปกรณ์ใช้ล็อคเกี่ยวฝาให้ปิดสนิท เช่น ฝาตู้ ฝากล่อง ที่เราเรียกกันติดปากว่าหูล็อคปิ่นโตนั้น เพราะเรามักจะคุ...

  • New-lock-installed-with-dust-cover.jpg
    การเลือกใช้กุญแจล็อคเกอร์ / กุญแจตู้คอนโทรล กุญแจล็อคเกอร์ หรือกุญแจตู้คอนโทรล หรือกุญแจตู้สวิทช์บอร์ด เป็นกุญแจที่มีลักษณะแบบใช้ฝังกับฝาตู้ (กุญแจฝังฝา) มีส่วนประกอบไม่ซับซ้อน ตัว...

  • ขาฉิ่งเครื่องจักรM16_M20_ขาตั้งเครื่อง_ขาฉิ่งสแตนเลส.png
    ขาฉิ่งเครื่องจักร ควรเลือกใช้แบบไหน? การเลือกใช้ขาสำหรับตั้งเครื่องจักรนั้น โดยทั่วไปวิศวกรผู้ออกแบบจะนิยมเลือกใช้ขาประเภท ขาฉิ่งปรับระดับ หรือ ขาปรับระดับ เพราะคุณสมบัติที่สำคัญค...

  • มือจับฝาตู้_มือดึงลิ้นชัก_มือดึงฝังฝา_ตู้คอนโทรล_ตู้ล็อคเกอร์_4.jpg
    มือดึงลิ้นชักแบบฝังฝา ดีอย่างไร?มือดึงลิ้นชัก หรือ มือจับฝาตู้แบบฝังฝา คือ มือจับที่ออกแบบมาให้ฝังจมเป็นระนาบเดียวไปกับหน้าบานของฝาตู้หรือฝาลิ้นชัก วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ประหยัดเนื...

  • ขาฉิ่งปรับมุม_ขาเครื่องจักรปรับมุม_NEW.png
    ขาฉิ่งปรับมุมได้ ดีอย่างไร? บ่อยครั้งที่เครื่องจักร ชั้นวางแม่พิมพ์ หรือโต๊ะวางงาน จำเป็นต้องติดตั้งหรือจัดวางในพื้นที่ที่มีไม่เรียบ พื้นเอียง หรือมีความสูงต่ำของพื้นที่ไม่เท่ากัน...

  • CLAMP04.jpg
    การประยุกต์ใช้เคเบิ้ลแคล้มป์เคเบิ้ลแคล้มป์ (Cable Clamp) หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า แคล้มรัดสายไฟ, แคลมป์รัดท่อ (Pipe Clamp) นั้น เป็นหนึ่งในแคล้มป์อุตสาหกรรมที่มีการนำมาประยุกต์ใ...

  • Epoxy_floor_ขาฉิ่งมียางรอง_พื้นอีพ๊อกซี่.jpg
    การป้องกันการเกิดรอยบนพื้นเมื่อใช้ขาฉิ่งปรับระดับ ปัจจุบันพื้นที่ทำงานในโรงงานโดยส่วนใหญ่นิยมทำเป็นพื้นอีพ๊อกซี่ (Epoxy floor) หรือ พียู (PU Floor) หรือพื้นกันไฟฟ้าสถิตย์ (ESD Flo...

  • กุญแจตู้คอนโทรลสแตนเลส_กุญแจสแตนเลส_กุญแจกันน้ำ_ตู้สวิทช์บอร์ด.png
    กุญแจตู้คอนโทรลสแตนเลสแบบกันน้ำ ทางออกสำหรับงานกลางแจ้ง การใช้งานตู้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ตู้ล็อคเกอร์ ตู้คอนโทรลไฟฟ้า ตู้สวิทช์บอร์ดในที่โล่งแจ้งหรือการใช้งานภายนอกอาคาร ปัญห...
Visitors: 83,679